Photobucket

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผู้หญิงกับรอยสัก

รอยสัก ภาพรอยสัก ผู้หญิง สวยๆงามๆ



รอยสัก ภาพรอยสัก ผู้หญิง สวยๆงามๆ





รอยสัก ศิลปะบนผิวหนัง

เจาะ..รอยสัก ศิลปะบนผิวหนัง 

 การตกแต่งผิวหนังร่างกายที่รู้จักคุ้นกันดีในรูปแบบรอยสัก ความเคลื่อนไหวของศิลปะแขนงนี้ มีความเป็นมายาวนานนับพันปีจวบ ถึงวันนี้การสักยังมีเสียงกล่าวขานนิยมกันในหลายประเทศทั่วโลก 

 เพิ่งผ่านไปสำหรับ มหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ การชุมนุมคนรักรอยสักครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวบรวมยอด ช่างสักมือดีจากประเทศต่าง ๆ ทั้งแถบประเทศเอเชีย ยุโรปและอเมริกา ช่างสักชาวไทยแถวหน้า คนรักรอยสัก พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ความรู้ แสดงวัฒนธรรมการสักที่มีเอกลักษณ์ เผยแพร่ สร้างมาตรฐานการสักภายใต้ กฎระเบียบพื้นฐานสากล 

 จากความเป็นมาของรอยสักที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จุดประสงค์ การสักว่ากันว่ามีหลากหลาย บ่งบอกวัฒนธรรม ความเชื่อการป้องกันภัยอันตราย รวมทั้งเป็นความชอบความ พึงพอใจเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล 

 รอยสักแต่ละประเทศมีรูปแบบเฉพาะตัวต่างกันไป การสักมีเกิดขึ้นทุกชนชาติ การสักของไทยมีทั้ง สักแบบอักขระโบราณ สักลวดลายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อิสระ แซ่ออง หรือ จิมมี่ หว่อง ช่างสักผู้บุก เบิกการสักฝากผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ บนผิวหนังยาวนานกว่า 34 ปี เริ่มขึ้นพร้อมเพิ่มเติมการสักของประเทศต่าง ๆ ว่า รอยสักเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกว่า 30 ปี ทั่วทวีปยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น ต่างมีการจัดงานลักษณะนี้เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร พัฒนาการสักให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ 

 การสักของไทยปัจจุบันเป็นที่รู้จักตอบรับจากชาวต่างชาติ ช่างสัก ไทยมีฝีมือ ความประณีต ขณะเดียวกันคุณภาพการสักไม่เป็นรองใคร ครั้งแรกของงานได้เชิญชวนช่างสักจากทั่วโลกมาร่วมงานเผยแพร่ศิลปะการสักไม่ว่าจะเป็นสักแบบไทยโบราณ สักแบบญี่ปุ่น บอร์เนียว สักด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ สักแบบดั้งเดิมตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ ให้รู้จักเข้าใจ 

 “ลายสักศิลปะญี่ปุ่นที่พูดถึงนิยมกัน การสักของเขานุ่มนวลลึกซึ้งมีความหมายในภาพ ขณะที่การสักของไทยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ การสักของไทยมีมายาวนานหลายร้อยปี การสักมีทั้งแบบดั้งเดิมสักยันต์ สักอักขระ สักลายต่าง ๆ การสักอักขระ ที่ดูเหมือนห่างไกลในยุคสมัยปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วยังไม่หยุดการเติบโต ยังคงเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มชาวต่าง ชาติและคนไทย เช่นเดียวกับการ พัฒนาการสักยังคงเดินหน้าต่อไปใน ทุก ๆ ที่” 

 ลายสักขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนมีหลากหลายลวดลายทั้งภาพสัตว์ ดอกไม้ ภาพเขียน ลวดลายกราฟิก ฯลฯ ลายการสักของจีนกับญี่ปุ่นจะมีความต่างกันนิดหน่อย ลายของจีนแม้จะใหญ่เต็มแผ่นหลัง แต่จะไม่ตีกรอบลายเปิดโล่ง 

รอยสักปลาคราฟญี่ปุ่น









การขึ้นและลงของรอยสัก

 


  สิ่งหนึ่งที่ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล และมารดา โทมัส อัลวา เอดิสัน ประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน รูสเวลท์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่สองและพระเจ้ายอร์ชที่ห้าแห่งอังกฤษ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ จูเนียร์ ฯลฯ และลูกของท่านผู้อ่านที่ค่อนข้างเฮ้วอย่างทันสมัยอาจมีร่วมกันก็คือรอยสัก
 
ถ้าท่านโกธรหรือเสียใจที่เห็นลูกท่านไปสักมา ข้อเขียนวันนี้อาจช่วยปลอบใจให้เห็นอีกจากมุมหนึ่งกระมังครับ 


 รอยสักหรือ Tattoo ซึ่งเป็นได้ทั้งคำนามและกริยานั้นมาจากภาษาตาฮิติว่า "Tatau" (แปลว่า ทำเครื่องหมายบางอย่าง) แต่เดิมเชื่อกันว่าการสักสืบทอดมาจากวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ เนื่องจากพบรอยสักบนมัมมี่ที่มีอายุประมาณ 4,500 ปี โดยมีรอยสักเป็นเส้นและจุดประกอบกันขึ้นเป็นลายและรูปต่างๆ 





 ความเชื่อนี้แปรเปลี่ยนไปเมื่อไม่นานมานี้เองเนื่องจากการปรากฏตัวของคนที่มีชื่อเรียกกันว่า Otzal Alps Ice Man ในปี 1991 กล่าวคือ คนเล่นสกีน้ำแข็งในบริเวณเทือกเขา Otzal Alps ซึ่งอยู่ระหว่างออสเตรียและอิตาลี ไปพบศพของชายคนหนึ่งที่จมอยู่ใต้หิมะมายาวนาน จากการพิสูจน์ก็พบว่าได้ตายแบบถูกแช่อยู่ในน้ำแข็งมา 5,300 ปีแล้ว ซึ่งเป็นเวลาหลายร้อยปีก่อนหลักฐานรอยสักที่พบบนตัวมัมมี่สิ่งที่พบบนตัวศพที่เกือบจะเป็นมนุษย์สมบูรณ์ (ยกเว้นไม่หายใจ เพราะหยุดพักมา 5,300 ปีแล้ว) ก็คือ รอยสักถึง 57 รอย ไม่ว่าบนเข่า ลำตัว ข้อเท้า จนเชื่อว่าการสักไม่น่าจะเป็นเพียงพิธีกรรม แต่อาจเป็นวิธีการรักษาความเจ็บป่วยด้วย

 เมื่อประกอบหลักฐานนี้เข้ากับชิ้นอื่นๆ ก็ทำให้เชื่อว่าประเพณีการสักกระจายไปยังวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย เช่น กรีก โรมัน อาหรับ เปอร์เซีย เมาลีในนิวซีแลนด์ Inuit (อ่านว่า อินโนวิต ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของเอสกิโม เนื่องจากชื่อเดิมมีนัยยะของการดูถูก ดังเช่นที่มีการเปลี่ยน นิโกเป็นแบล็คอเมริกันและต่อมาเป็นแอฟโรอเมริกัน กะเหรี่ยงเป็นปะกากะญอ แม้วเป็นม้ง...เข้าใจว่า คุณทักษิณมิได้เปลี่ยนชื่อตาม) ฯลฯ และเมื่อก่อนหน้าคริสต์ศักราชประมาณ 2,000 ปี การสักก็แพร่กระจายไปยังจีนซึ่งใช้การสักเป็นการบอกว่าเป็นคนต้องโทษ โดยมักจะสักไว้บนหน้าผาก ญี่ปุ่นใช้การสักเป็นการบอกความเป็นทาสและนักโทษ
 ประเพณีไทยในการสักเลก (ขึ้นทะเบียนไพร่) ที่ข้อมือ และหน้าผากเพื่อลงโทษแต่สมัยอยุธยา ก็อาจมาจากวัฒนธรรมจีน ในลิลิตตะเลงพ่ายที่จำได้ก็มีการพูดถึงการมีพุงดำ ในประวัติศาสตร์ไทยก็มีการสักลงเลขยันต์ เพื่อความอยู่ยงคงกระพันมาตลอด มั่นใจว่าบรรพบุรุษของพวกเราล้วนมีรอยสักด้วยกันทั้งนั้น

 การสักนั้นเป็นวิธีง่ายๆ ที่ใช้ของมีคม เช่น มีด เข็ม เศษแก้วแตก จิ้มหรือกรีดบนร่างกาย (เจ็บที่สุดคือบริเวณที่ไม่ค่อยมีเนื้อ และใกล้กระดูก) และใส่หมึก ดินเขม่า หรือสีที่มาจากสารต่างๆ ที่ไม่เป็นพิษลงไปในแผล บ้างก็เสียชีวิตเพราะโรคบาดทะยัก แต่ก็ทนได้เพราะการสักรูปรอยต่างๆ ในบางวัฒนธรรมเป็นการบอกถึงฐานะทางสังคมในเผ่า หรือกลุ่มของตน (พวกเมาลี) บ้างก็เป็นพิธีกรรมของการเข้าสู่วัยหนุ่ม 





 จุดเปลี่ยนแรกที่นำการสักมาสู่ยุคสมัยใหม่คือเมื่อกัปตัน เจมส์ คุก (Cook) นักเดินเรือคนสำคัญของโลก ที่เดินทางไปยังหมู่เกาะทะเลใต้ และบุกเบิกทวีปออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้นำศิลปะการสักกลับไปยุโรปใน ค.ศ.1769 ด้วยการนำชาวพื้นเมืองเมาลีที่เชี่ยวชาญการสักกลับไปอังกฤษกับเขาด้วย 


 การสักเกิดติดลมกลายเป็นแฟชั่นในหมู่คนชั้นสูง เพราะคนมีเงินเท่านั้นจึงจะมีรอยสักได้เนื่องจากมีราคาแพง เป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีของศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1800"s) ที่การสักเป็นเรื่องของคนชั้นสูง และกัปตันคุกได้รับเครดิตว่า เป็นผู้นำการสักมาสู่คนเหล่านี้ 
 

อย่างไรก็ดี โดยแท้จริงแล้วคนอังกฤษและยุโรปก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์สมัยโรบินฮู้ด) พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 พระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตลอดจนอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือล้วนมีการสักกันมาก่อนแล้ว 
 

พระเจ้าฮาโรลด์ที่สองแห่งอังกฤษรักสนมคนหนึ่งมากจนมีรอยสักไว้บนหัวใจข้างซ้าย และรอยสักนี้แหละที่ทำให้สนมของพระองค์ สามารถพิสูจน์พระศพได้เมื่อทรงพ่ายแพ้ แก่ William the Conqueror ใน ค.ศ.1066 





 จุดเปลี่ยนที่สองของการสัก คือ ค.ศ.1891 เมื่อนักประดิษฐ์อเมริกันชื่อ Samuel O"Reilly ได้พัฒนาเครื่องสักไฟฟ้าได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีกว่าที่ โทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ (ประดิษฐ์แผ่นเสียง หลอดไฟ เครื่องฉายภาพยนตร์ ฯลฯ) ได้สร้างไว้ก่อนหน้า เครื่องมือใหม่นี้มีหลอดสี และเข็มที่เจาะผิวหนังได้ลึกสามมิลลิเมตรอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับฉีดหยดสีเข้าไปใต้ผิวหนัง







 คราวนี้เงินตราไม่อาจเป็นกำแพงกั้นรอยสักที่เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการแบ่งชั้นคนรวยและจนได้อีกต่อไป เพราะเครื่องสักไฟฟ้าทำให้ค่าจ้างสักลดต่ำลงมาก ใครๆ ก็สามารถสักได้ ดังนั้น ความขลังของมันจึงลดลงไปเรื่อยๆ จากความชื่นชมและมีเกียรติของการมีรอยสัก กลายเป็นความน่ารังเกียจเพราะทุกชนชั้นก็สามารถสักได้ โดยเฉพาะชน "ชั้นล่าง" บางคนมีรูปรอยสักที่น่ารังเกียจออกนอกกรอบที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของสังคม

 ในต้นศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.1900"s) รอยสักก็กลายเป็นสิ่งที่ผูกโยงกับผู้ใช้แรงงาน คนไม่มีการศึกษา คนขาดรสนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการสักเป็นที่นิยมในหมู่คนคุก ชนชั้นสูงจึงละทิ้งการสัก ซึ่งเคยเป็นแฟชั่น และตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ค่านิยมดังกล่าวก็ยังปรากฏเด่นชัดในใจของผู้คนทั้งหลาย 


สันนิษฐานว่าสังคมไทย "ชั้นสูง" ได้รับเอาค่านิยมปลายสมัยวิกตอเรียของอังกฤษเช่นนี้เข้ามา ในใจของคนเหล่านี้เฉพาะคนที่มีการศึกษาน้อย เชื่อถือในเวทมนตร์คาถาเท่านั้นที่นิยมการสักกัน จนเมื่อไม่นานมานี้เอง ที่การสักพอจะได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย "ชั้นสูง" เนื่องจากเห่อตามแฟชั่นฝรั่งสมัยปัจจุบัน

 สำหรับฝรั่ง การยอมรับการสักและความนิยมการสักได้ฟื้นตัวเมื่อราว ค.ศ.1960 ในยุคสมัยของฮิปปี้ สงครามเวียดนาม ฯลฯ การสักเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ ต่อต้านสถาบันไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ รัฐบาล สงคราม ฯลฯ ดาราภาพยนตร์ นักร้องนักแสดงมีการสักกัน เช่น Cher ริงโก สตาร์ ของวงเดอะบีตเทิลส์ Janis Joplin ฯลฯ และแฟชั่นนั้นก็สืบทอดมาจนถึงเยาวชนและผู้ใหญ่ไทยในวันนี้

 การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าคนอเมริกาเหนือที่มีรอยสักมีจำนวน 44 ล้านคน ในคนช่วงอายุ 25-29 ปี คนที่มีรอยสักมีอยู่ประมาณร้อยละ 36 และช่วงอายุ 30 เศษ มีอยู่ร้อยละ 28

 เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล โทมัส เอดิสัน มีรอยสักเป็นจุด 5 จุดเหมือนจุดบนลูกเต๋าบนไหล่ซ้าย โจเซฟ สตาลิน มีรอยสักที่อก แม่ของเชอร์ซิลสักเป็นรูปงูพันรอบข้อมือซ้าย และถึงผมจะมีความรู้ไม่เท่าพี่นิวัติ กองเพียร แต่ก็รู้ว่า คุณเพ็ญพักตร์ ศิริกุล ของพี่เขามีรอยสักเป็นรูปดอกกุหลาบเล็กๆ ที่เนินอกซ้าย (หรือขวาก็จำไม่ได้ เพราะไม่เคยเห็นของจริงครับ)

 มีนักปราชญ์บอกว่า "โลกนี้ไม่มีอะไรใหม่ มีแต่สิ่งที่ถูกลืมไปเท่านั้นเอง" อยากบอกน้องๆ เยาวชนว่าถึงอย่างไร รอยสักก็ยังให้ความรู้สึกที่เป็นลบแก่ผู้ที่รู้และเห็น เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ของความเฮ้ว การอยู่นอกกรอบ ความแก่โลกย์ ความไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่น

 คิดดูให้ดีก่อนสักนะครับ เพราะมันมี "ราคา" ที่แพงกว่าค่าสักอยู่ไม่น้อยทีเดียวในสังคมไทยเราที่ไม่ชื่นชมลักษณะข้างต้น
 

ความเป็นมาของการสักแบบญี่ปุ่น

  ในความเป็นมาของการสักแบบญี่ปุ่นที่มีเผยแพร่ยังแนะนำให้รู้จัก กับหลักฐานการสักของญี่ปุ่นซึ่งถูกค้นพบจากรูปปั้นดินเหนียวมีการเพ้นท์บนหน้า แกะสลักลวดลายเป็นลายสักมี อายุเก่าแก่ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือมากกว่า นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นที่ถูกค้นพบอายุมากกว่าด้วยเช่นกัน 






   จากประวัติการสักของญี่ปุ่น ที่มีความเป็นมายาวนานเช่นเดียวกันกับการสักของจีน รอยสักของสองประเทศนี้จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ส่วนสีสันการสักฝั่งยุโรป อเมริการูปแบบการสักเป็นแบบสมัยใหม่หลากหลายมีการสักทุกรูปแบบ 






   การสักไม่เพียงใช้เข็มปลายแหลมสักมือ สักด้วยเครื่องซึ่งจะสม่ำเสมอเนียน ยังมีการสักแบบตอกดังเช่นการสักตามแบบฉบับบอร์เนียว ช่างสักคนเดิมเพิ่มเติมว่า การสักรูปแบบนี้เป็นของชาวเกาะมีการสืบทอดมายาวนานกว่าพันปี การสักมีรูปแบบเฉพาะตัวเป็นลายกราฟิก ดอกไม้ ฯลฯ 
   นอกจากนี้ในเวทีคนรักรอยสักครั้งแรกยังมีข้อมูลการ สักแบบฮาวาย บอกเล่า รอยสักชาวฮาวายส่วนมากจะออกแบบเหมือนกับลวดลายบนกะปะ เงินตรา ลายสักจะแสดง ถึงธรรมชาติ อาทิ ฟันปลาฉลาม ลายถักทอ เม่นทะเล มีความหมายลึกซึ้งโดดเด่นเฉพาะตัว






รอยสัก ศิลปะบนผิวหนัง

 การตกแต่งผิวหนังร่างกายที่รู้จักคุ้นกันดีในรูปแบบรอยสัก ความเคลื่อนไหวของศิลปะแขนงนี้ มีความเป็นมายาวนานนับพันปีจวบ ถึงวันนี้การสักยังมีเสียงกล่าวขานนิยมกันในหลายประเทศทั่วโลก 

 เพิ่งผ่านไปสำหรับ มหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ การชุมนุมคนรักรอยสักครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวบรวมยอด ช่างสักมือดีจากประเทศต่าง ๆ ทั้งแถบประเทศเอเชีย ยุโรปและอเมริกา ช่างสักชาวไทยแถวหน้า คนรักรอยสัก พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ความรู้ แสดงวัฒนธรรมการสักที่มีเอกลักษณ์ เผยแพร่ สร้างมาตรฐานการสักภายใต้ กฎระเบียบพื้นฐานสากล 

 จากความเป็นมาของรอยสักที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จุดประสงค์ การสักว่ากันว่ามีหลากหลาย บ่งบอกวัฒนธรรม ความเชื่อการป้องกันภัยอันตราย รวมทั้งเป็นความชอบความ พึงพอใจเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล 

 รอยสักแต่ละประเทศมีรูปแบบเฉพาะตัวต่างกันไป การสักมีเกิดขึ้นทุกชนชาติ การสักของไทยมีทั้ง สักแบบอักขระโบราณ สักลวดลายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อิสระ แซ่ออง หรือ จิมมี่ หว่อง ช่างสักผู้บุก เบิกการสักฝากผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ บนผิวหนังยาวนานกว่า 34 ปี เริ่มขึ้นพร้อมเพิ่มเติมการสักของประเทศต่าง ๆ ว่า รอยสักเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกว่า 30 ปี ทั่วทวีปยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น ต่างมีการจัดงานลักษณะนี้เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร พัฒนาการสักให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ 

 การสักของไทยปัจจุบันเป็นที่รู้จักตอบรับจากชาวต่างชาติ ช่างสัก ไทยมีฝีมือ ความประณีต ขณะเดียวกันคุณภาพการสักไม่เป็นรองใคร ครั้งแรกของงานได้เชิญชวนช่างสักจากทั่วโลกมาร่วมงานเผยแพร่ศิลปะการสักไม่ว่าจะเป็นสักแบบไทยโบราณ สักแบบญี่ปุ่น บอร์เนียว สักด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ สักแบบดั้งเดิมตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ ให้รู้จักเข้าใจ 

 “ลายสักศิลปะญี่ปุ่นที่พูดถึงนิยมกัน การสักของเขานุ่มนวลลึกซึ้งมีความหมายในภาพ ขณะที่การสักของไทยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ การสักของไทยมีมายาวนานหลายร้อยปี การสักมีทั้งแบบดั้งเดิมสักยันต์ สักอักขระ สักลายต่าง ๆ การสักอักขระ ที่ดูเหมือนห่างไกลในยุคสมัยปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วยังไม่หยุดการเติบโต ยังคงเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มชาวต่าง ชาติและคนไทย เช่นเดียวกับการ พัฒนาการสักยังคงเดินหน้าต่อไปใน ทุก ๆ ที่” 

 ลายสักขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนมีหลากหลายลวดลายทั้งภาพสัตว์ ดอกไม้ ภาพเขียน ลวดลายกราฟิก ฯลฯ ลายการสักของจีนกับญี่ปุ่นจะมีความต่างกันนิดหน่อย ลายของจีนแม้จะใหญ่เต็มแผ่นหลัง แต่จะไม่ตีกรอบลายเปิดโล่ง 

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554