Photobucket

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รอยสัก ศิลปะบนผิวหนัง

เจาะ..รอยสัก ศิลปะบนผิวหนัง 

 การตกแต่งผิวหนังร่างกายที่รู้จักคุ้นกันดีในรูปแบบรอยสัก ความเคลื่อนไหวของศิลปะแขนงนี้ มีความเป็นมายาวนานนับพันปีจวบ ถึงวันนี้การสักยังมีเสียงกล่าวขานนิยมกันในหลายประเทศทั่วโลก 

 เพิ่งผ่านไปสำหรับ มหกรรมศิลปะรอยสักนานาชาติ การชุมนุมคนรักรอยสักครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวบรวมยอด ช่างสักมือดีจากประเทศต่าง ๆ ทั้งแถบประเทศเอเชีย ยุโรปและอเมริกา ช่างสักชาวไทยแถวหน้า คนรักรอยสัก พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ความรู้ แสดงวัฒนธรรมการสักที่มีเอกลักษณ์ เผยแพร่ สร้างมาตรฐานการสักภายใต้ กฎระเบียบพื้นฐานสากล 

 จากความเป็นมาของรอยสักที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จุดประสงค์ การสักว่ากันว่ามีหลากหลาย บ่งบอกวัฒนธรรม ความเชื่อการป้องกันภัยอันตราย รวมทั้งเป็นความชอบความ พึงพอใจเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล 

 รอยสักแต่ละประเทศมีรูปแบบเฉพาะตัวต่างกันไป การสักมีเกิดขึ้นทุกชนชาติ การสักของไทยมีทั้ง สักแบบอักขระโบราณ สักลวดลายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อิสระ แซ่ออง หรือ จิมมี่ หว่อง ช่างสักผู้บุก เบิกการสักฝากผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ บนผิวหนังยาวนานกว่า 34 ปี เริ่มขึ้นพร้อมเพิ่มเติมการสักของประเทศต่าง ๆ ว่า รอยสักเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกว่า 30 ปี ทั่วทวีปยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น ต่างมีการจัดงานลักษณะนี้เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร พัฒนาการสักให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ 

 การสักของไทยปัจจุบันเป็นที่รู้จักตอบรับจากชาวต่างชาติ ช่างสัก ไทยมีฝีมือ ความประณีต ขณะเดียวกันคุณภาพการสักไม่เป็นรองใคร ครั้งแรกของงานได้เชิญชวนช่างสักจากทั่วโลกมาร่วมงานเผยแพร่ศิลปะการสักไม่ว่าจะเป็นสักแบบไทยโบราณ สักแบบญี่ปุ่น บอร์เนียว สักด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ สักแบบดั้งเดิมตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ ให้รู้จักเข้าใจ 

 “ลายสักศิลปะญี่ปุ่นที่พูดถึงนิยมกัน การสักของเขานุ่มนวลลึกซึ้งมีความหมายในภาพ ขณะที่การสักของไทยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ การสักของไทยมีมายาวนานหลายร้อยปี การสักมีทั้งแบบดั้งเดิมสักยันต์ สักอักขระ สักลายต่าง ๆ การสักอักขระ ที่ดูเหมือนห่างไกลในยุคสมัยปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วยังไม่หยุดการเติบโต ยังคงเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มชาวต่าง ชาติและคนไทย เช่นเดียวกับการ พัฒนาการสักยังคงเดินหน้าต่อไปใน ทุก ๆ ที่” 

 ลายสักขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนมีหลากหลายลวดลายทั้งภาพสัตว์ ดอกไม้ ภาพเขียน ลวดลายกราฟิก ฯลฯ ลายการสักของจีนกับญี่ปุ่นจะมีความต่างกันนิดหน่อย ลายของจีนแม้จะใหญ่เต็มแผ่นหลัง แต่จะไม่ตีกรอบลายเปิดโล่ง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น